1. สินค้าและบริการฟรี
รายได้จากค่าโฆษณา ( Product or service is free, revenue from ads )
กลุ่มที่ได้รับความนิยมมากในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น Facebook หรือ social media อื่นๆนั่โดยบริการพวกนี้จะให้เราใช้ฟรีๆ แลกกับการที่เราต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว และยินยอมส่งมอบ Insight ส่วนตัวเกี่ยวกับ Demographic, Interest, Behavior แก่ผู้ให้บริการ เหมือนที่ Andrew Lewis พูดไว้เมื่อปี 2010 “ถ้าคุณไม่ต้องจ่ายเงินซื้อมัน คุณไม่ใช่ลูกค้า คุณคือสินค้า”
“If you are not paying for it, you’re not the customer; you’re the product being sold.”
2.สินค้าให้ใช้ฟรี
แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อบริการพิเศษ (Product is free, but you pay for services) ตัวอย่างสินค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Linux, WordPress ที่เป็น Open source ให้ใช้งานฟรีๆ
แต่ต้องจ่ายค่าบริการดูแลรักษา ค่าInstallation ค่าปรับแต่ง Softwareให้เหมาะสม รวมถึงค่าเทรนนิ่งการใช้งานระบบ
3. “Freemium” model ใช้ฟรีแต่อัพเป็นพรีเมียมจะดีกว่า
ตัวอย่างเช่น Linkedin , Dropbox, โดยกลุ่มนี้จะให้ใช้บริการฟรีใน Feature พื้นฐาน และต้องจ่ายเงินซื้อ Advance Feature หลายๆตัวเพิ่ม ข้อดีของ Model นี้คือ ไม่ต้องใช้Cost ในการ Acquire new user ข้อเสียคือต้องจ่ายค่า Infrastructure สูงในการดูแล users
4. Cost-based model ซื้อมาขายไปกำไรตามตลาด
เป็นการตั้งราคาสินค้ารูปแบบดั้งเดิม โดยการคำนวนต้นทุนสินค้า แล้วบวก % กำไรตามความเหมาะสม
5. Value model ไม่ซื้อก็ตาย ขายเท่าไหร่ก็ได้
สินค้าบางกลุ่มสามารถตั้งราคาขายได้ตามใจ เพราะมี Valuable สูงมากเช่น ยารักษาโรค
6. Tiered or volume pricing
การตั้งราคาตาม Usage เช่น Web traffic, จำนวน End users ทำให้Product ประเภทนี้เข้าถึง Client ได้ง่าย (Affordable) และมีโอกาส Generate Revenue ที่สูงขึ้นได้ตามการ Scale up ของลูกค้า
Source : www.businessinsider.com